ไม่มีเงิน เงินไม่พอใช้ หมุนเงินไม่ทัน ต้องการเงินหมุนธุรกิจ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอสำหรับเจ้าของกิจการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์เศรษฐกิจจากพิษโควิด-19 อย่างในตอนนี้ เพราะสำหรับการทำธุรกิจแล้ว สิ่งที่หนึ่งที่สำคัญมากไม่แพ้เรื่องของกำไร ก็คือ กระแสเงินสด หรือ เงินทุนหมุนเวียน นี่แหละครับ แต่ในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ เราในฐานะเจ้าของธุรกิจจะมีวิธีการบริหารกระแสเงินสดนี้อย่างไร พี่หมีจะพาไปหาคำตอบกัน
ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ ทำไงดี
1.พิจารณาค่าใช้จ่ายประจำในแต่ละเดือน
ข้อนี้ทำได้ไม่ยากครับ เราอาจจะทำเป็นบัญชีรายรับ รายจ่ายขึ้นมาเลย อาจเป็นบัญชีง่าย ๆ โดยการแบ่งครึ่งหน้ากระดาษด้านซ้ายเป็นรายรับ ด้านขวาเป็นรายจ่ายในแต่ละวัน เราก็จะพอเห็นแล้วว่า อย่างน้อยเราต้องมีเงินสำหรับค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องจ่ายประจำ เช่น ค่าเช่าตึก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน ภาษี แล้วรายรับที่เราได้รับนั้นสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ พอจะหมุนเวียนในแต่ละเดือนได้หรือเปล่า
2. กำหนดค่าตอบแทนของตัวเองให้ชัดเจน
"ขายดีจนเจ๊ง" คงเป็นประโยคที่เพื่อน ๆ เคยได้ยินกันมาบ้างใช่ไหมครับ คือลูกค้าก็เยอะนะ แต่ไม่รู้เงินหายไปไหนหมด ส่วนใหญ่แล้วปัญหานี้มักเกิดจากการที่เจ้าของกิจการไม่ได้กำหนดค่าตอบแทนของตัวเองไว้ก่อน เมื่อต้องเกิดการใช้เงินไม่ว่าจะเพื่อขยายธุรกิจ หรือใช้จ่ายส่วนตัวก็ตาม ก็จะหยิบเงินจากที่เราขายได้นี่แหละมาใช้ ดังนั้น สิ่งที่เพื่อน ๆ ควรทำก็คือ การกำหนดค่าตอบแทนของตัวเองให้ชัดเจน เพื่อแยกเงินสำหรับการดำเนินกิจการและเงินสำหรับใช้จ่ายส่วนตัวไม่ให้ปะปนกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินปันผล เราก็จะเห็นได้ว่าธุรกิจมีกำไรจริง ๆ เท่าไหร่ ขณะเดียวกันเราก็มีเงินมาใช้จ่ายในเรื่องส่วนตัวด้วย
3. หากเงินหมุนไม่ทันแล้ว มีมาตรการรัฐช่วยเยียวยา
สำหรับใครที่กระแสเงินสดขาดสภาพคล่อง หรือหมุนไม่ทันแน่ ๆ ลองติดตามข่าวสารมาตรการรัฐที่ช่วยเยียวยาในช่วงนี้ดูก่อนนะครับ และรีบดำเนินการในสิ่งที่กิจการของเราเข้าข่ายได้รับการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็น
- มาตรการคืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 1.5% เริ่มเดือนเมษายนถึงกันยายน 2563
- สินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานของประกันสังคม วงเงินสินเชื่อ 30,000 ล้านบาท โดยให้ดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี ให้สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม
- มาตรการพักต้น ลดดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล เช่น ธนาคารออมสิน, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
- หักเพิ่มภาษีดอกเบี้ยจ่าย จาก 1 เท่า เป็น 1.5 เท่า
- ไม่ปลดพนักงาน สามารถหักรายจ่ายจากค่าจ้างงานได้ 3 เท่า
- ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้างมาตรา 33 จากเดิม 5% เหลือ 4% และมาตรา 39 จาก 9% เหลือ 7%
- บรรเทาภาระค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าตอบแทนการให้บริการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เรื่องการจ่ายค่าเช่าที่ราชพัสดุ สำหรับผู้เช่าประเภทผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
- ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุจกิจเฉพาะ และอื่น ๆ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโดยเลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบและชำระภาษีทุกประเภท 1 เดือน
4.เมื่อต้องหาแหล่งเงินกู้ในระบบเพิ่ม
ถึงแม้จะมีมาตรการเงินกู้สำหรับผู้ประกอบการแล้วก็ตาม แต่ยังมีเจ้าของธุรกิจหรือสถานประกอบการบางประเภทที่ไม่เข้าข่าย หรือต้องรอดำเนินเรื่องเป็นระยะเวลานาน ในเวลานี้อาจต้องลองสมัครบริการสินเชื่ออื่น ๆ จากธนาคารเพิ่มเติม เพราะตอนนี้บางธนาคารก็มีมาตรการช่วยเหลือในการจ่ายชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็น พักชำระหนี้เงินต้น ไม่คิดดอกเบี้ย สามารถเปลี่ยนวงเงินคงเหลือในบัตรเครดิตเป็นวงเงินสินเช่ือส่วนบุคคลได้ เป็นต้น ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถสอบถามกับทางธนาคารได้โดยตรงครับ ในส่วนของพี่หมีนั้นมีสินเชื่อส่วนบุคคลในระบบมาแนะนำเพื่อน ๆ ดังนี้ครับ
Car4Cash - สินเชื่อเพื่อคนมีรถ
- สินเชื่อสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของรถ ระยะเวลาอนุมัติภายใน 1 วัน หลังธนาคารได้รับเอกสารครบ
- ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก โปะได้ ผ่อนนานสูงสุด 84 เดือน
- 100,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 100% จากราคาประเมินรถยนต์ของธนาคาร
- ไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน สามารถใช้รถได้ตามปกติ
- รายได้ต่อเดือนขั้นต่ำสำหรับเจ้าของกิจการคือ 10,000 บาท และต้องเป็น 2 เท่าของค่างวด

สินเชื่อบุคคลเพอร์ซันนัลแคช CIMB
- 1,500,000 บาท หรือสูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน
- 30,000 บาท
- 60 เดือน

สินเชื่อยูโอบี ไอ-แคช
- อนุมัติไว ได้เงินพร้อมใช้ใน 3 วัน หลังจากที่ทางธนาคารได้รับเอกสารครบถ้วน
- 1,000,000 บาท หรือสูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน
- 20,000 บาท
- 60 เดือน

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แบบนี้ พี่หมีโกแบร์ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้ทุกคนสามารถฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปได้ด้วยกันครับ และถ้าหากเพื่อนๆ ต้องการหาแหล่งเงินกู้ที่น่าเชื่อถือเพิ่มเติม ก็สามารถเข้ามาเปรียบเทียบและศึกษารายละเอียดที่เว็บไซต์โกแบร์ได้เลยนะครับ