การโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ มีค่าใช้จ่ายหรือต้องใช้อะไรบ้าง
- จะซื้อขายต้องโอนรถด้วย
- ประเภทการโอนรถ
- เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการโอนลอย
- ข้อควรระวังเมื่อต้องโอนลอย
- Checklist ก่อนโอนลอย
- ค่าใช้จ่ายในการโอนรถ
- ประกันรถยนต์ อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องมีไว้เพื่อความอุ่นใจ
การโอนรถ คือประเด็นสำคัญที่ต้องรู้สำหรับคนที่ซื้อ-ขายรถ เพราะไม่ใช่ทุกอย่างจะจบที่การจ่ายเงินแล้วแยกย้าย แต่มันมีเรื่องของเอกสารซื้อขายและการเปลี่ยนเจ้าของ ยิ่งถ้าเป็นรถมือสองหรือซื้อขายกันเองเมื่อไหร่ ต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ถี่ถ้วนก่อนครับ ไม่งั้นอาจเป็นตัวเพื่อนๆ เองที่เสียประโยชน์
มาดูกันครับว่าก่อนจะซื้อ-ขายรถ มีรายละเอียดอะไรที่เราต้องรู้บ้าง
จะซื้อ-ขายรถ ต้องโอนรถด้วย
พูดง่ายๆ ก็คือ การเปลี่ยนเจ้าของรถนั่นแหละครับ เป็นขั้นตอนจำเป็นในการซื้อ-ขายรถ ไม่ว่าจะรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือรถบรรทุกก็ตาม ซึ่งขั้นตอนการโอนก็ไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อนอะไร พี่หมีไล่เป็นสเต็ปให้ ตามนี้ครับ
- กรอกแบบฟอร์มคำขอและรับโอน (ดาวน์โหลดได้ที่นี่)
- นำรถไปตรวจสภาพ
- ยื่นเรื่องโอนกรรมสิทธิ์และจ่ายค่าธรรมเนียม
- รับใบคู่มือจดทะเบียนคืน พร้อมใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายการเสียภาษี และแผ่นป้าย ทะเบียนรถ
ประเภทการโอนรถ
ในขั้นตอนข้างบน เพื่อนๆ จะเห็นว่ามีเรื่องของการโอนกรรมสิทธิ์อยู่ด้วย ซึ่งการโอนก็จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท โดยเพื่อนๆ สามารถเลือกโอนได้ตามที่สะดวก ดังนี้ครับ
- โอนตรง คือ การที่คนขายรถและคนซื้อรถไปที่สำนักงานขนส่งที่รถคันนั้นจดทะเบียนแจ้งใช้งาน แล้วก็ไปโอนกรรมสิทธิ์กันต่อหน้านายทะเบียน
- โอนลอย คือ การที่คนขายเซ็นสัญญาไปก่อน โดยที่ยังไม่ได้ใส่ชื่อผู้รับโอนหรือเจ้าของใหม่ให้ชัดเจน หรือใส่ไปแล้วแต่ยังไม่ได้ไปโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานขนส่ง วิธีสังเกตคือ ในแบบคำขอโอนหรือชื่อในเล่มทะเบียนรถจะมีแค่ชื่อเจ้าของเดิม ยังไม่มีชื่อเจ้าของใหม่
เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการโอนลอย
เนื่องจากการโอนตรงไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเพราะทั้งสองฝ่ายได้ไปทำเรื่องด้วยกัน ในบทความนี้พี่หมีจะเจาะเรื่องการโอนลอยเป็นพิเศษแทนนะครับ
การโอนลอย เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ผู้คนนิยมทำ เพราะง่ายและสะดวก เพียงแค่เซ็นเอกสารในใบโอน จากนั้นก็ให้เจ้าของใหม่เซ็นรับและนำไปทำเรื่องต่อที่สำนักงานขนส่งเอง ช่วยประหยัดเวลาไปได้เยอะ ไม่ต้องหาวันเวลาที่ว่างกันทั้งสองฝ่าย
ข้อควรระวังเมื่อต้องโอนลอย
แม้การโอนลอยจะง่ายและสะดวก แต่ถ้าทำโดยไม่เช็ครายละเอียดการเซ็นเอกสารให้ถี่ถ้วน คนขายรถก็จะเจอผลกระทบที่ไม่น่าอภิรมย์เท่าไหร่ครับ เช่น สมมติเพื่อนๆ ขายรถให้พี่หมี และเซ็นใบโอนลอยมาให้เรียบร้อย แต่พี่หมีไม่ได้นำรถไปโอนกรรมสิทธิ์ให้เรียบร้อยตามที่นัดหมายกันไว้ แถมยังเอารถไปใช้ในทางที่ผิดๆ เช่น ฝ่าฝืนกฏจราจร ขนของผิดกฏหมาย หรือขับรถชนคนอื่น คนที่ต้องรับผิดชอบจะกลายเป็นเพื่อนๆ ซึ่งเป็นเจ้าของรถแต่เดิม เพราะยังมีชื่อติดอยู่ในทะเบียนเล่มรถ ส่วนพี่หมีก็ลอยลำไปครับ
หรือในมุมคนซื้อรถ ถ้าเจ้าของรถเกิดเสียชีวิตไประหว่างการโอนเสร็จสิ้น เอกสารที่กรอกมาทั้งหมดก็จะใช้ไม่ได้ และทำให้คนซื้อไม่สามารถตรวจสอบรถได้ว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมาหรือโดนเปลี่ยนเครื่องยนต์มาหรือไม่ เพราะชื่อในทะเบียนก็ยังคือว่าเป็นเจ้าของคนเก่าอยู่
Checklist ก่อนโอนลอย
จากที่เล่าไปข้างบน เพื่อนๆ อาจคิดว่าการโอนลอยเป็นเรื่องอันตราย อย่าเพิ่งมองไปในแง่ร้ายขนาดนั้นครับ การโอนลอยสามารถทำได้ ขอเพียงแค่จัดการเอกสารให้รอบคอบและรัดกุม ซึ่งพี่หมีมี Checklist มาให้ดูว่าก่อนจะโอนลอย มีอะไรต้องตรวจสอบบ้าง
สิ่งที่ต้องตรวจ | รายละเอียด |
---|---|
สมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์ |
|
สัญญาซื้อขาย |
|
แบบฟอร์มคำขอและรับโอน |
|
สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของคนขาย |
|
ค่าใช้จ่ายในการโอนรถ
อันนี้เหมือนกันหมดไม่ว่าจะโอนตรงหรือโอนลอยนะครับ พี่หมีลิสต์รายการไว้ให้ตามนี้เลยครับ
- ค่าอากรสแตมป์ 500 บาท ต่อการประเมินทุก 100,000 บาท
- ค่าคำขอ 5 บาท
- ค่าธรรมเนียมการโอน 100 บาท
- >ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน 100 บาท (กรณีชำรุด)
- ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท (กรณีต้องการเปลี่ยน)
ประกันรถยนต์ อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องมีไว้เพื่อความอุ่นใจ
หลังจากโอนรถแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่ารถของเพื่อนๆ จะได้รับการดูแลอย่างดีเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ก็อย่าลืมทำประกันภัยรถยนต์ติดไว้นะครับ ถ้ายังไม่แน่ใจว่าควรเป็นประกันตัวไหนดี กดปุ่มด้านล่างเพื่อเปรียบเทียบข้อเสนอประกันได้เลย พี่หมีคัดมาให้แล้วครับ